1.
ข้อมูลพื้นฐานของ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
1.1 ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ชื่อ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ที่ตั้ง อาคาร 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เลขที่
1 หมู่ 4 ถนนนคร–นบพิตำ ตำบลท่างิ้ว
อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร
075–809842
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครูพุทธศักราช
2518 เพื่อทำหน้าที่ผลิตครูในระดับปริญญาตรี พร้อมๆ กับการประกอบภารกิจอื่นๆ อีก 4
ประการ ตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูฉบับดังกล่าว
มีชื่อตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
เรื่องการแบ่งส่วนราชการในวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช ลงวันที่ 12 มีนาคม 2530 ว่า
"คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" และภาควิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ
บรรณารักษศาสตร์ สังคมศึกษา ดนตรีและนาฏศิลป์ ศิลปศึกษา ในช่วง 10 ปีแรกคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มีหน้าที่จัดการศึกษาและผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษา
หรือมีหน้าที่ในการผลิตรูในวิชาเอก ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ บรรณารักษศาสตร์ สังคมศึกษา
นาฏศิลป์ศิลปศึกษา ในระดับ ป.กศ.สูง และระดับปริญญาตรี
และระดับปริญญาตรีหลังอนุปริญญาระยะแรกของการเป็นคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ในฐานะผู้ผลิตครูช่วง พ.ศ.2518-2528 พ.ศ.2526
วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชได้รับมอบหมายให้จัดการศึกษาใน ฐานะ "วิทยาลัยชุมชนนครศรีธรรมราช"
ตามนโยบายกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับสูงสู่ประชาชน
คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ได้สนองนโยบายด้วยการเป็นคณะที่ดำเนินงานวิทยาลัยชุมชน
โดยได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคการอาชีพ (ป.ทอ.)
ซึ่งเป็นการศึกษาในระดับอนุปริญญา 4 วิชาเอก คือ การสำนักงาน
วารสารและการประชาสัมพันธ์ ภาษาอังกฤษบริการและศิลปะประยุกต์ ดำเนินงานโดย
"คณะกรรมการเทคนิคการอาชีพ" และได้มีการจัดตั้งภาควิชาใหม่อีก 1
ภาควิชา คือ ภาควิชาการสหกรณ์
ซึ่งเป็นฐานรากในการพัฒนาเป็น คณะวิทยาการจัดการ ในปัจจุบัน พ.ศ.2527 เป็นปีสุดท้ายของการเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง
(ป.กศ.สูง) วิชาเอกสุดท้าย คือ วิชาเอกนาฏศิลป์
ระยะที่ 2 การพัฒนาไปสู่สาขาศิลปศาสตร์ พ.ศ.2528-2534
จากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม กรมการฝึกหัดครูได้มีพระราชบัญญัติครู
(ฉบับที่ 2) เมื่อพุทธศักราช 2527
มีสาระเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้วิทยาลัยครูสามารถเปิดสอนสาขาวิทยาการอื่นได้และมีการจัดตั้งคณะวิทยาการจัดการภาควิชาการสหกรณ์จึงได้ย้ายไปสังกัดคณะวิทยาการจัดการ
ภารกิจของคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ในช่วงปี พ.ศ.2528-2535 ได้จัดการศึกษา 2 สาขา คือ สาขาวิชาการศึกษา (การผลิตครู)
และสาขาศิลปศาสตร์
โดยเฉพาะสาขาศิลปศาสตร์ได้เริ่มต้นด้วยการจัดการศึกษาระดับอนุปริญญา ดังนี้
1.
สาขาวิชาการศึกษา
1)
ระดับปริญญาตรี วิชาเอกภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และบรรณารักษศาสตร์
2)
ระดับปริญญาตรี หลังอนุปริญญา วิชาเอกภาษาไทย นาฏศิลป์ และสังคมศึกษา
2.
สาขาศิลปศาสตร์
1)
ระดับอนุปริญญา วิชาเอกภาษาอังกฤษธุรกิจ วัฒนธรรมศึกษา บรรณารักษศาสตร์
และออกแบบประยุกต์ศิลป์
2)
ระดับปริญญาตรี เปิดสอนวิชาเอกภาษาอังกฤษเป็นวิชาแรก ในปี พ.ศ.2530
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ.2530-2534
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ร่วมพัฒนาหลักสูตร
ศิลปศาสตร์บัณฑิตกับกรมการฝึกหัดครูหลายหลักสูตรทำให้การดำเนินการจัดการศึกษา
สาขาศิลปศาสตร์ชัดเจนขึ้น เพราะได้จัดการศึกษาใน 3 หลักสูตร คือ
วิชาเอกวัฒนธรรมศึกษา บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ และการพัฒนาชุมชน
เป็นหลักสูตรหลังอนุปริญญา ปี พ.ศ.2535
ภาควิชาภาษาต่างประเทศได้ดำเนินงานตามโครงการความร่วมมือกับบริษัทดุสิตธานี จำกัด
เปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้น 1 ปี เพื่อฝึกนักศึกษาให้ไปทำงานในสถานประกอบการของเอกชน
เรียกว่า โครงการ "Dusit's
Internship Project" (DIP)
ระยะที่ 3 การเปลี่ยนสถานภาพสู่สถาบันราชภัฏปี
พ.ศ.2538-ปัจจุบัน
จากภารกิจที่ขยายฐานไปสู่การจัดการศึกษาสาขาอื่นกว้างขวางยิ่งขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อความเข้าใจของสังคม
การจัดการศึกษาภายใต้ชื่อ "วิทยาลัยครู"
ได้ก่อให้เกิดความสับสนในพันธกิจ ว่า ผลิตบัณฑิตเฉพาะสายครู จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก
"วิทยาลัยครู" ไปเป็น "สถาบันราชภัฏ"
วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช เปลี่ยนเป็น สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจที่ต้องรับผิดชอบจัดการศึกษาหลายศาสตร์หรือหลายสาขา คือ
สาขาวิชาการศึกษา สาขาศิลปศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์และในปี พ.ศ. 2544 ได้เปิดสาขาบริหารธุรกิจ
รวมเป็น 4 สาขา
และเพื่อยกฐานะให้สูงขึ้นเพื่อรองรับการจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาได้ ในวันที่
14 กุมภาพันธ์ 2535
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม(รัชกาลที่ 9) พระราชทานนามใหม่แก่วิทยาลัยครูทั้ง 36 แห่ง
ว่า "สถาบันราชภัฏ" วิทยาลัยครูจึงได้เปลี่ยนสถานภาพมาเป็น
"สถาบันราชภัฏ"
ตั้งแต่นั้นมาการเปลี่ยนสถานภาพเป็นผลให้มีพระราชบัญญัติใหม่ คือ
พระราชบัญญัติสถาบัน ราชภัฏ พุทธศักราช 2538 มีพันธกิจใหม่ คือ
เป็นสถาบันเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการ จัดการศึกษาในระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี
จากพระราชบัญญัติฉบับนี้ คณะวิชาเปลี่ยนเป็น คณะ มีฐานะเทียบเท่า "กอง"
และหัวหน้าคณะเปลี่ยนเป็น คณบดี
พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการต่อสถาบันทั้งด้านการบริหารและด้านวิชาการ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช
ได้เปลี่ยนแปลงสถานภาพชัดเจนในด้านพันธกิจ คือ มีหน้าที่จัดการศึกษาสาขาศิลปศาสตร์ ดังนี้
1. ด้านการบริหาร ได้มีการจัดภาควิชาให้ใหญ่ขึ้น คือ
มีการเปลี่ยนแปลงโดยการรวมภาควิชาเดิมเป็นภาควิชาใหม่ ในบทภาควิชา คือ
ภาควิชาปรัชญาและศาสนา เปลี่ยนเป็นภาควิชามนุษยศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา รัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ เป็นภาควิชาสังคมศาสตร์
ส่วนภาควิชาที่ยังคงสภาพเดิม คือ ภาควิชาภาษาไทย ภาควิชาภาษาอังกฤษ
และภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
2. ด้านวิชาการ ได้มีการจัดการบริหารวิชาการในรูปโปรแกรมวิชา
ภาควิชามีหน้าที่ดูแลโปรแกรมวิชาที่เปิดสอน
ส่วนโปรแกรมที่ไม่มีภาควิชาให้อยู่ในความดูแลของคณะ ซึ่งในขณะนั้นมีโปรแกรมวิชา
ดังนี้
1. โปรแกรมวิชาภาษาไทย
2. โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ
3.
โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
4.
โปรแกรมวิชาวัฒนธรรมศึกษา
5.
โปรแกรมวิชาสังคมศึกษา (หลักสูตร ค.บ.)
ในปี
พ.ศ.2538 รัฐบาลได้มีแนวนโยบายส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา
ได้มีความรู้ภาษาต่างประเทศอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนด้านห้องปฏิบัติการทางภาษา โดยการจัดตั้ง
"ศูนย์ภาษา"
ให้มีฐานะเทียบเท่าคณะ
เพื่อเป็นหน่วยสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและเป็นห้องปฏิบัติการของผู้เรียนภาษาในปีนี้ได้เริ่มพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสาขาไทยคดีศึกษา พันธกิจตามแผนพัฒนาการศึกษาระยะที่ 8 พ.ศ.2540
สถาบันราชภัฏได้กำหนดรูปแบบการบริการจัดการใหม่โดยยุบภาควิชาทั้งหมด
และให้บริหารวิชาการรูปโปรแกรมวิชา และมีคณะกรรมการบริหารโปรแกรมวิชา
บุคลากรทั้งหมดอยู่ในการกำกับดูแลของคณะ
ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของอาจารย์เปลี่ยนจากภาควิชาเป็นคณะและขึ้นตรงต่อคณบดี
ในปีเดียวกันนี้ คณะได้สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการรวมภาควิชาศิลปศึกษา ภาควิชาดนตรี และภาควิชานาฏศิลป์
จัดเป็นโครงการจัดตั้ง "คณะศิลปกรรมศาสตร์
เพื่อจะพัฒนาให้เป็นคณะที่สมบูรณ์แบบต่อไป
แต่ยังอยู่ในความดูแลของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะด้านงบประมาณจะจัดสรรรวมอยู่ในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จวบจนปัจจุบัน นอกจากนั้น ได้มีการจัดตั้ง
"ศูนย์ภาษา"
เพื่อสนองนโยบายการเรียนภาษาต่างประเทศและพัฒนาการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศให้อาจารย์
นักศึกษา และบริหารวิชาการแก่ชุมชนศูนย์ภาษา ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 อาคาร 4
อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ปี
พ.ศ.2541 คณะได้เปิดสอบโปรแกรมวิชาใหม่ คือ โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ปี พ.ศ.2542 เปิดสอบหลักสูตรการพัฒนาชุมชน
โปรแกรมวิชาการพัฒนาชุมชน ในปีนี้การร่างหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาไทยคดีศึกษาได้แล้วเสร็จ ปี พ.ศ.2543 หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาไทยคดีศึกษาได้รับการรับรองคุณวุฒิ เมื่อ 26 เมษายน 2543
และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. รับรองคุณวุฒิ เมื่อ 14 เมษายน
2543 และทบวงมหาวิทยาลัยได้รับรองมาตรฐานและมีแผนการเปิดสอนในปีเดียวกัน
ในปีนี้ได้มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Access Centers) เพื่อสนองนโยบายการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ
และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช
2542 โดยจัดตั้งที่ อาคาร 4 ชั้น 2 ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2547
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ(รัชกาลที่ 9)
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติเรียกว่า “พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547”
โดยให้มหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่งเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เรียกชื่อ
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ตามชื่อของสถาบันราชภัฏเดิมตามความในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน
พ.ศ.2547
และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538
สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชจึงเปลี่ยนเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช”
และในปัจจุบัน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจในการผลิตบัณฑิต คือ
สาขาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขานิติศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ให้ความร่วมมือทางวิชาการในการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาด้วย ดังนี้
1. ระดับปริญญาตรี 4 ปี
บัณฑิตสาขาศิลปศาสตร์ จำนวน 10 หลักสูตร คือ
1)
หลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
2)
หลักสูตรภาษาไทย
3) หลักสูตรภาษาญี่ปุ่น
4)
หลักสูตรการพัฒนาชุมชน
5)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์
6)
หลักสูตรภาษาอังกฤษธุรกิจ
7)
หลักสูตรดนตรี
8)
หลักสูตรนาฏศิลป์และการละคร
9)
หลักสูตรศิลปกรรม
10)
หลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา
2.
ระดับปริญญาตรี 4 ปี บัณฑิตสาขานิติศาสตร์ จำนวน 1 หลักสูตร คือ
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
3.
ระดับปริญญาโท 2 ปี บัณฑิตศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จำนวน 2 หลักสูตร คือ
1)
หลักสูตรไทยคดีศึกษา
2)
หลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
4.
ร่วมมือทางวิชาการในการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษา 3 หลักสูตร คือ
1)
หลักสูตรภาษาอังกฤษ ค.บ.
2)
หลักสูตรสังคมศึกษา ค.บ.
3)
หลักสูตรภาษาไทย ค.บ.
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ปรับปรุงหลักสูตรใหม่เพื่อให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
โดยเปิดสอนนักศึกษาภาคปกติ จำนวน 11 สาขาวิชา และเปิดสอนนักศึกษาภาคพิเศษ จำนวน 3
สาขาวิชา ดังนี้
1.
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 7 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
2) สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ
3) สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษาเพื่อการท่องเที่ยว
4) สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
5) สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
6) สาขาวิชาดนตรี
7) สาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร
2. หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) ปริญญาตรี 4
ปี มี 2 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชาจิตรกรรม
2) สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
3. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
(น.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 1 สาขาวิชา
ดังนี้
1) สาขาวิชานิติศาสตร์
4.
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 1 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
5.
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี
ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกรมการปกครองส่วนท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
มี 1 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาการปกครองท้องถิ่น
ในปีการศึกษา
2554 คณะมีการปรับปรุงหลักสูตร
เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยมีการเปลี่ยนแปลงชื่อสาขาวิชาและเนื้อหาสาระรายวิชา
ดังนี้
1.
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 7 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
2) สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ
3) สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษาเพื่อการท่องเที่ยว
4) สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
5) สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
6) สาขาวิชาดนตรี
7) สาขาวิชานาฏศิลป์และการแสดง
2.
หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 2 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชาจิตรกรรม
2) สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
3.
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 1 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชานิติศาสตร์
4.
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 1 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
2) สาขาการปกครองท้องถิ่น
และในปีการศึกษา 2555 คณะมีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
(รป.บ.) สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น เพิ่ม
1 สาขาวิชา และในปีการศึกษา 2556
ได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ จำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว และในปี 2560
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ จำนวน 1 หลักสูตร คือ
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น เป็นต้นมา
ปัจจุบันคณะมีหลักสูตรที่เปิดสอน จำนวน 5 หลักสูตร 13 สาขาวิชา
ในปีการศึกษา 2556
คณะมีการปรับปรุงหลักสูตรในหมวดศึกษาทั่วไป เพื่อให้มีความทันสมัย
สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานโดยมีการเปลี่ยนแปลงชื่อสาขาวิชาและเนื้อหาสาระรายวิชา
ดังนี้
1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ปริญญาตรี 4
ปี มี 8 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
2) สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ
3) สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษาเพื่อการท่องเที่ยว
4) สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
5) สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
6) สาขาวิชาดนตรี
7) สาขาวิชานาฏศิลป์และการแสดง
8) สาขาวิชาการท่องเที่ยว
2. หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี
2 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชาจิตรกรรม
2) สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
3. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี
มี 1 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชานิติศาสตร์
4.
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 2 สาขาวิชา
ดังนี้
1) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
2) สาขาการปกครองท้องถิ่น
ในปีการศึกษา
2560 คณะมีการปรับปรุงหลักสูตรตามนโยบาย Reprofile เพื่อให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานโดยมีการเปลี่ยนแปลงชื่อสาขาวิชาและเนื้อหาสาระรายวิชา
ดังนี้
1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
(ศศ.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 8 สาขาวิชา ดังนี้
1)
สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
2) สาขาวิชาภาษาไทย
3)
สาขาวิชาการจัดการวัฒนธรรมเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์
4) สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
5) สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
6) สาขาวิชาดนตรี
7) สาขาวิชานาฏศิลป์และการแสดง
8) สาขาวิชาการท่องเที่ยว
2. หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี
2 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชาจิตรกรรม
2) สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
3. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี
มี 1 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชานิติศาสตร์
4. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
ปริญญาตรี 4 ปี มี 1 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
5.
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 1 สาขาวิชา ดังนี้
1)
สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
ในปีการศึกษา
2564
มติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ครั้งที่
6/2564 วันศุกร์ที่ 6
สิงหาคม 2564 มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอแนะของสภามหาวิทยาลัยมอบให้คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์บริหารจัดการการขับเคลื่อนหลักสูตรการจัดการศิลปและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ปริญญาโท-ปริญญาเอก
ภายใต้บุคลากรและงบประมาณของคณะโดยปรับปรุงจากสาขาภาษาไทยเพื่ออาชีพเป็นสาขาภาษาไทยและปรับปรุงจากสาขาเพื่อการท่องเที่ยวเป็นสาขาการจัดการวัฒนธรรมเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์
รวมเป็น 5 หลักสูตร 13 สาขาวิชา
ในปีการศึกษา 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
และเปิดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา
ทำให้มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 11 หลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาโท จำนวน 3
หลักสูตร และหลักสูตรระดับปริญญาเอก จำนวน 3 หลักสูตร ดังนี้
1. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ปริญญาตรี 4
ปี มี 8 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชาการท่องเที่ยว
2) สาขาการจัดการวัฒนธรรม
3) สาขาวิชาภาษาไทย
4) สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
5) สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
6) สาขาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์
2. หลักสูตรศิลปบัณฑิต
(ศล.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 1 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
3.
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 1 สาขาวิชา ดังนี้
1)
สาขาวิชานิติศาสตร์
4.
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 1 สาขาวิชา
ดังนี้
1)
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
5. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) ปริญญาตรี 4 ปี มี 1 สาขาวิชา
ดังนี้
1) สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
6. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา (ค.บ.) ปริญญาตรี
4 ปี มี 3 วิชาเอก ดังนี้
1) วิชาเอกศิลปศึกษา
2) วิชาเอกนาฏศิลป์
3) วิชาเอกดนตรีศึกษา
7. หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต ระดับปริญญาโท มี 1 สาขาวิชา ดังนี้
1) สาขาวิชาสื่อสารการเมือง
8. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ระดับปริญญาโท มี 2 สาขาวิชา
ดังนี้
1) สาขาวิชายุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
2) สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์
9. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ระดับปริญญาเอก มี 3 สาขาวิชา
ดังนี้
1) สาขาวิชายุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
2) สาขาวิชาสื่อสารการเมือง
3) สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมสร้างสรรค์
[ 2564-ปัจจุบัน ]
คณบดี